วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

         บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าบุคคลทั่วไปเมื่อวัดเชาว์ปัญญา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป และ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ทักษะหรือ มากกว่า จึงทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนกับเด็กปกติ และ มีพัฒนากรที่ไม่เหมาะสมกับวัย ทั้งนี้ลักษณะความบกพร่องดังกล่าวต้องเกิดก่อนอายุ 18 ปี

สาเหตุของการบกพร่องทางสติปัญญา
         สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก เนื่องจากเป็นผลกระทบกระเทือนจากสมองภายใน ซึ่ง หมายความว่าเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยการแบ่งการพิจารณาจากการเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ ของทารก คือ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะหลังคลอดเป็นระยะที่เด็กยังอยู่ในวัยปฐมวัย แล้วมีเหตุใดเหตุหนึ่งมากระทบกระเทือนสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องทางสมองขึ้น แบ่งออกเป็น 3 สาเหตุ คือ
1. สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โดย ความผิดปกติของพันธุกรรมทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนร่วมกับความผิดปกติทางร่างกาย
2. สาเหตุจากชีวภาพ ได้แก่ สาเหตุที่ทำให้สมองหยุดชะงักการเจริญเติบโต ตั้งแต่
2.1 ระยะก่อนคลอด
2.2 ขณะคลอด
2.3 หลังคลอด
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
3.1 ครอบครัว
3.2 พ่อ แม่ ขาดการศึกษาและขาดความรู้ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก
3.3 ครอบครัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัด ขาดสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้น ทำให้ขาดประสบการณ์ในการเรียนรู้ในการเรียนรู้

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในแต่ละระดับมีความแตกต่างตามช่วงอายุ
ดังนี้
ระดับปัญญาอ่อน ปฐมวัย ( 0- 5 ขวบ ) วัยเรียน ( 6 –12 ปี ) วัยผู้ใหญ่ ( 21 ปี ขึ้นไป )  วุฒิภาวะและพัฒนาการ การศึกษา สังคมและอาชีพ
1. ขั้นเล็กน้อย ( mild )
IQประมาณ 50 - 70 สามารถพัฒนาทักษะในการสื่อความหมายและทักษะทางสังคมได้ ยังไม่สามารถสังเกตความแตกต่างจากเด็กปกติได้มากนักจนกว่าเด็กจะโตขึ้น  สามารถเรียนหนังสือได้สูงสุดประมาณชั้น ป. 6 เมื่อเด็กมีอายุในวัยรุ่นไม่สามารถเรียนวิชาสามัญได้เท่าเทียมกับเด็กปกติ ควรได้รับการศึกษาที่จัดเฉพาะเด็กประเภทนี้ สามารถประกอบอาชีพและอยู่ในสังคมได้ หากได้รักการศึกษาและการฝึกอาชีพอย่างเพียงพอ ต้องการดูแลและเอาใจใส่จากผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ
2. ขั้นปานกลาง ( moderate )
IQ ประมาณ 35 - 49 สามารถพูดได้พอสื่อสารกับผู้อื่นได้มีพัฒนาการช้า พอช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องการการควบคุมดูแลจากผู้ใกล้ชิด สามารถเรียนหนังสือได้สูงสุดประมาณชั้น ป. 4 เมื่ออายุถึงวัยรุ่นหากได้รับการศึกษาที่เหมาะสม สามารถทำงานประเภทที่ไม่ต้องใช้ทักษะมากนัก( unkilled,semiskilled)ต้องการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด
3. ขั้นรุนแรง ( severe )
IQ ประมาณ 20 - 34 มีปัญหาในการเคลื่อนไหว พูดไม่ค่อยได้หรือพูดไม่ได้เลย ช่วยตัวเองไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้สอนพูดได้บ้างฝึกเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยได้บ้าง ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด ช่วยตัวเองได้บ้างแต่น้อย
4. ขั้นรุนแรงมาก ( profound )
IQ ต่ำกว่า 20 ช่วยตัวเองไม่ได้ มีความสามารถน้อยที่สุด ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์  ฝึกให้ช่วยตัวเองได้บ้าง แต่ไม่ค่อยได้ผลมากนัก ช่วยตัวเองไม่ได้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

ระดับที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ และมีความต้องการในด้านการเรียนในรูปแบบของ ชั้นพิเศษเต็มเวลา หรือ บางเวลาในโรงเรียนปกติเด็กเหล่านี้จะมีระดับเชาว์ปัญญา ( I.Q ) 71 - 90 ซึ่งขาดทักษะในการเรียนรู้หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย
2. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้มีความยากลำบากต่อการดำรงชีวิต แบ่งตามระดับ เชาว์ปัญญา ( I.Q ) ได้ 4 พวก คือ
1. ปัญญาอ่อนขนาดน้อยพอเรียนได้ (Educable mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญา 50–70 มักใช้คำย่อๆ ว่า E.M.R. เด็กพวกนี้พอจะเรียนได้ในชั้นพิเศษใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษ สามารถฝึกอาชีพ และสอนอย่างง่ายๆ ได้
2. ปัญญาอ่อนขนาดปานกลางหรือขนาดพอฝึกได้ (Trainable mentally retarded) หรือขนาดพอฝึกได้ มักใช้คำย่อว่า T.M.R. มีระดับเชาวน์ปัญญา 35–49 พอจะฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ และสามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ พวกนี้ต้องการเรียนและฝึกอบรมในโปรแกรมการศึกษาชั้นพิเศษ หรือโรงเรียนพิเศษ
3. ปัญญาอ่อนขนาดหนัก (Severely mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญา 20 – 34 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
4. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก (Profoundly mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 20 เป็นพวกที่ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น

ลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
         บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีพัฒนาการตั้งแต่วัยทารกและตอนเด็กช้ากว่าเด็กปกติโดยทั่วไป มีร่างกายอ่อนแอ รูปร่างแคระแกร็น บางรายมีศรีษะค่อนข้างเล็ก บางรายศรีษะโต ประวัติการเจริญเติบโต ล่าช้า คือ มีการคว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กปกติมาก
         เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่ฝึกได้มีลักษณะส่วนคล้ายคลึงกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนหนังสือ แต่ต่างกันที่ความรุนแรง เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่ฝึกมีปัญหาและความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนได้เนื่องจากที่ระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าลักษณะของเด็กอาจสรุปได้ดังนี้
1. การเคลื่อนไหว
เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (แขนขา) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้วมือ) มีปัญหาในการทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตา
2. การช่วยเหลือตนเอง
เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเอง หากไม่ได้รับการฝึกอย่างเพียงพอจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นการช่วยเหลือตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การแต่งตัว การขับถ่าย
3. ภาษาและการพูด
เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการพูด หลายคนพูดไม่ชัดมีความรู้ทางภาษาจำกัดหากได้รับการฝึกอย่างเพียงพอ เด็กจะสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้
4. การเรียน
เด็กมักประสบความล้มเหลวในการเรียน ครูต้องหมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอและมีความสามารถในการเรียนค่อนข้างจำกัด (ผดุง อารยะวิญญู : 2533,56-57)

ลักษณะท่าทางของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีดังนี้
1. ลักษณะทางร่างกาย
โดยทั่วไปบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มักมีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ คือ มือเท้าใหญ่กว่าปกติ บางคนมีลักษณะแคระแกรน บางคนก็สูงใหญ่ ต่างกับคนธรรมดา
1.1 ศรีษะจะมีลักษณะเล็กผิดปกติ หรือมีลักษณะหัวกระโหลกเล็กเป็นรูปกรวย หรือ บางพวกมีลักษณะศรีษะใหญ่ผิดปกติ เพราะน้ำในสมองมาก ร่างกายไม่สามารถจะทนน้ำหนักได้ บางรายศรีษะบิดเบี้ยวและแบน
1.2 ผม ลักษณะผมมักหยาบแข็ง มีขนตามร่างกายดกผิดปกตอ ส่วนบางรายมีลักษณะตรงข้าม คือ ผมน้อย หรือ ผมบาง แต่ไม่ถึงกับล้าน มักจะเป็นโรคผิวหนังบนศรีษะ
1.3 หน้าผากมักจะแคบผิดปกติ โคนผมเกือบถึงคิ้ว บางรายหน้าผากลาด
1.4 ตา มักจะหรี่เล็ก หางลูกตาเฉียงขึ้นข้างบน มักเป็นโรคเกี่ยวกับทางตา เช่น ตาแดง หรือสายตาผิดปกติ บางรายมีเปลือกตาหนา
1.5 หู ลักษณะรูปหูมักจะผิดปกติ ส่วนมากจะเป็นโรคหูตึง หรือ หูมีน้ำหนวก
1.6 ปาก ริมฝีปากหนา ปากแบะ มักมีน้ำลายไหลยืดออกมาตลอดเวลา
1.7 ฟัน มักจะเหยิน ฟัน ซี่โต ๆ ฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบ
1.8 ลิ้นมักจะโตเกินขนาด ทำให้พูดไม่ชัด ลิ้นจุกปาก

2. ลักษณะด้านพฤติกรรม
ด้านพฤติกรรม คือ การพูด การทำความเข้าใจ การตัดสินใจมักช้าและเข้าใจผิดอยู่เสมอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การพูด มักเริ่มพูดช้ากว่าเด็กปกติ พูดไม้ค่อยชัด และ พูดไม่รู้เรื่อง พูดแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ แม้จะอายุมากถึง 6 – 7 ปี แล้วก็ตาม บางรายพูดเป็นประโยคไม่ได้ ต้องพูดเป็นคำ ๆ
2.2 การฟังและความเข้าใจ มักจะเขาใจผิด ๆ ต้องพูดหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ จึงจะเข้าใจ
2.3 อิริยาบทและการเคลื่อนไหว มักใช้มือไม่ค่อยคล่อง เดิน วิ่ง ช้า อืดอาด ไม่มีความกระฉับกระเฉงการตัดสินใจ มักมีการตัดสินใจแผลง ๆ ไม่กลัวอันตราย ชอบออกนอกบ้านยามวิกาล
2.4 สมาธิ มักขาดสมาธิและความสนใจ จะทำหรือเรียนสิ่งใดก็ได้ในช่วงเวลาอันสั้น
2.5 ความจำมักมีน้อย หรือ จำอะไรไม่ได้เลย แม้แต่ ชื่อพ่อ แม่ ก็จำไม่ได้ บางรายจำชื่อตนเองไม่ได้ สอนไปเรียนไปถามรู้เรื่องพอกลับมาถามอีกก็ไม่รู้เรื่อง
2.6 อารมณ์ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เลย ใจน้อย รักแรงเกลียดแรง มักแสดงอาการเสียใจ ดีใจ โกรธ ผิดหวัง ออกมาโดยไม่มีการเสียแสร้ง

ลักษณะทางจิตวิทยา
1. ลักษณะทางด้านการเรียนรู้
มีช่วงความสนใจสั้น สนใจบทเรียนได้ไม่นาน เสียสมาธิง่าย มีปัญหาในการหาความสัมพันธ์ในด้านความจำ ในการถ่ายโยงความรู้ เรียนรู้ในลักษณะนามธรรมได้ยาก
2. ลักษณะทางด้านภาษาและการพูด
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะ ปัญหาในทางภาษาและการพูด เป็นอย่างมาก ความสามารถทางภาษาจะต่ำกว่าระดับอายุสมอง
3. ลักษณะด้านร่างกายและสุขภาพ
ส่วนสูงและน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กปกติ พัฒนาการตลอดจนความสามารถในด้าน การเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป การเจ็บป่วย และปัญหาเกี่ยวกับฟัน  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีปัญหาในการเรียนแทบทุกวิชา ผลการเรียนต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน และการเรียนคณิตศาสตร์

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
         เทคนิคการสอนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ากรเรียนการสอนของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้ประสบความสำเร็จทางการเรียน ซึ่งเทคนิคการสอนมีหลายวิธี ดังนี้
1. เทคนิคการกระตุ้นเตือน
เป็นเทคนิคสำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้ ประเภทของการกระตุ้นเตือนที่นิยมใช่มี 4 ชนิด
1.1 การเรียกร้องความสนใจจากเด็ก ( Elicitaion X เช่นการเคาะวัตถุที่ใช้ฝึกกับพื้นโต๊ะ หรือให้เด็กสบตา (eye - contact )โดยใช้รางวัลหลอกล่อ
1.2 การกระตุ้นเตือนทางกาย ( Physical Prompting ) คือ จับมือของเด็กให้ทำงานส่วนที่ครูต้องการให้ทำ เมื่อเด็กทำได้ครูจะลดการช่วยเหลือลงเป็นสัมผัสเบา ๆ และเลื่อนจากการจับมือเป็นแตะข้อศอกและลดความช่วยเหลือจนเด็กสามารถทำได้เอง
1.3 การกระตุ้นเตือนด้วยท่าทาง ( Gestural Prompting ) คือ การสาธิตวิธีปฏิบัติงานให้เด็กดู ให้เด็กเลียนแบบถ้าเด็กทำไม่ได้ ให้ชี้แนะด้วยการชี้ไปที่งานหรือวัตถุนั้น หรือ การมองด้วยใบหน้า สายตา
1.4 การกระตุ้นด้วยวาจา ( Verbal Prompting ) คือการออกคำสั่งหรือชี้แจงด้วยคำพูดซึ่งครูต้องพยายามใช้คำสั่งสั้น ๆ และ ง่ายพอที่เด็กจะเข้าใจได้
2. เทคนิคการวิเคราะห์งาน คือ การแตกงานออกเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ หรือ จำแนกเนื้อหาที่จะสอนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ หลายขั้นตอน จัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
3. เทคนิคการให้รางวัล ควรให้อย่างทันทีทันใด ภายหลังพฤติกรรม หรือเด็กทำงานได้สำเร็จ
4. เทคนิคการตะล่อมกล่อมเกลา ( shaping ) คือ วิเคราะห์งานก่อนและให้รางวัลแก่การตอบวนองในขั้นตอนที่เด็กทำได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านนี้จะต้องต่อเนื่องไปสู่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
5. เทคนิคการเลียนแบบ ให้เด็กเลียนแบบทำตามตัวอย่างที่ครูสาธิตให้ดู
6. สื่อการสอน ครูจะต้องเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้เด็ก โดยสัมพันธ์กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการ และวัสดุอุปกรณ์ต้องเพียงพอกับเด็กแต่ละคนในกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก
ได้ใช้อุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง

 การป้องกัน
      หลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญญาอ่อน
คู่สมรสควรตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาและรักษาโรคที่เป็นสาเหตุปัญญาอ่อน เช่น โรคซิฟิลิส โรคขาดสารอาหาร โรคโลหิตจาง โรคเรื้อรังต่างๆ กลุ่มเลือดผิดปกติทางพันธุกรรม ควรมีการวางแผนครอบครัวไม่ให้มีลูกถี่เกินไป
ถ้ามีประวัติปัญญาอ่อนในครอบครัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร

ลักษณะของเด็กปัญญาอ่อนที่พึงสังเกตง่าย ๆ คือ
      การเจริญเติบโตล่าช้า เช่น ชันคอ คว่ำคลาน ยืน เดิน พูดช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน 
3 - 4 เดือนแล้วยังไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่จ้องหน้าแม่ ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่คว้าจับสิ่งของ
2 ขวบแล้วยังไม่พูดจนคำเดียว และไม่แสดงอาการโต้ตอบและรับรู้
3 ขวบแล้วยังวาดวงกลมไม่ได้
5 -6 ขวบแล้ว ยังแต่งตัวเองไม่ได้
7 ขวบยังไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กในวัยเดียวกันได้

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
         จากการสำรวจของผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ.2499 ได้พบว่ามีบุคคล ปัญญาอ่อนในประเทศไทยราว 25,000 คน กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการ จัดบริการในสาขานี้ขึ้น และได้จัดอนุมัติให้จัดดำเนินการเปิดโรงพยาบาลปัญญาอ่อนที่ ถนนดินแดง พญาไท ได้ในปี พ.ศ.2503 โดยมีนายแพทย์รสชง ทัศนาญชลี เป็นผู้อำนวยการคนแรก จากการนำเด็กมาดูแลรักษามีความเห็นว่าเด็กเหล่านี้ควรได้รับ การเพิ่มพูนสมรรถภาพทางการศึกษาด้วย จึงได้จัดเป็นชั้นเรียนขึ้นภายในโรงพยาบาล โดยให้ การศึกษาอบรมตามหลักวิชาเพื่อให้ช่วยตนเองในชีวิตประจำวันได้ และมีการฝึกฝนอาชีพต่าง ๆ ด้วย  ต่อมาทางโรงพยาบาลได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินสร้างอาคารเรียนสำหรับเด็กปัญญาอ่อนขึ้นและพระราชทานนาม ว่า โรงเรียนราชานุกูลต่อมาชื่อโรงพยาบาลก็เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลราชานุกูลด้วย ในปี พ.ศ.2509 ได้เปิดอาคารดรุณวัฒนาเพิ่มขึ้น สำหรับเด็กปัญญาอ่อนชั้นปฐมวัย
ในปี พ.ศ.2519 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ก่อตั้งโรงเรียนปัญญาอ่อนขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ถนนประชาชื่น เขตบางเขน ได้รับพระราชทานนามว่า โรงเรียนปัญญาวุฒิกรและเปิดโรงงานในอารักษ์สำหรับฝึกอาชีพให้แก่บุคคล ปัญญาอ่อนวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาได้เริ่มดำเนินการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับคนปัญญาอ่อนขึ้น โดยรับโอนโรงเรียนราษฎร์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรกให้ชื่อว่า โรงเรียนกาวิละอนุกูล  และขยายออกไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น ชุมพรตามลำดับ สำหรับการศึกษาปฐมวัยก็มีโครงการประภาคารปัญญา ที่ตลิ่งชัน ศูนย์พัฒนาเด็กปัญญาอ่อน ที่วัดม่วงแค และศูนย์พัฒนาเด็กปัญญาอ่อนก่อนวัยเรียน คลองเตย สำหรับเด็กเรียนช้านั้น กรมสามัญศึกษา ได้เริ่มโครงการทดลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2497 ที่โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดนิมมานนรดี และโรงเรียนวัดหนัง หลังจากนั้นกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจึงได้เริ่มโครงการสอนเด็กเรียนช้า ปัญญาอ่อน ขึ้นอีกหลายโรงเรียนในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้


นางสาวจันทรา  ดำนุ้ย
นางสาวจาสิตา  แสงขำ
นางสาวกอบกาญจน์  แก้วคงธรรม


นายธเนศ  แซ่หลี